กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

 

กระแตไต่ไม้

 

 

 

       กระแตไต่ไม้ ชื่อสามัญ Oak-Leaf fern, Drynaria กระแตไต่ไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Drynaria quercifolia (L.) J.Sm. (ชื่อพองวิทยาศาสตร์ Polypodium quercifolium L. (Basionym)) จัดอยู่ในวงศ์เฟิร์น (Polypodiaceae) เช่นเดียวกันกับผักกูด และผักแว่น

 

ลักษณะกระแตไต่ไม้

  • ต้นกระแตไต่ไม้ จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น ที่เลื้อยเกาะอยู่บนต้นไม้หรือตามก้อนหรือโขดหิน ในที่ที่มีร่มเงาหรือแสงแดด หรือตามชายป่า โดยมีลำต้นจะทอดนอนยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง         2-3 เซนติเมตร โดยต้นกระแตไต่ไม้นี้จะกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเขตร้อน และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือสปอร์
  • เหง้ากระแตไต่ไม้ เหง้ามีลักษณะเป็นหัวกลม ยาว ปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มและมีขนยาวสีน้ำตาลคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมอยู่ ส่วนเนื้อในมีสีขาวและเขียว[
  • ใบกระแตไต่ไม้ ใบเป็นใบเดี่ยว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ใบจะประกบต้นตั้งเฉียงกับลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีความกว้างประมาณ            20 เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง 32 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้นๆ หุ้มอยู่บริเวณเหง้า ผิวของใบอ่อนมีขนเป็นรูปดาว ชนิดนี้ใบจะไม่มีก้าน และชนิดที่สองคือ ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ชนิดนี้จะอยู่สูงกว่าใบที่ไม่สร้างสปอร์ และชี้ขึ้นด้านบน ลักษณะของแผ่นใบจะเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร ส่วนขอบใบมีลักษณะเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ (คล้ายกับใบสาเก) เป็นพู เรียงตัวกันแบบขนนก ใบมีสีเขียวหม่นเป็นมัน เนื้อใบเหนียว และมีก้านใบยาวประมาณ     15-25 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบจะมีเกล็ดสีน้ำตาลดำ กลุ่มอับสปอร์ลักษณะเป็นรูปกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน เรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นของใบย่อย แอนนูลัสประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง และไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

 

 

 

 

 

 

สรรพคุณของกระแตไต่ไม้

  1. สมุนไพรไทยกระแตไต่ไม้ เหง้ามีรสจืดเบื่อ สรรพคุณเป็นยาช่วยสมานคุมธาตุ (เหง้า)
  2. ช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เหง้าประมาณ 3-4 เหง้า ผสมกับตำลึงเอื้องเงิน 1 ต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา     วันละ 2-3 ครั้ง (เหง้า)
  3. ช่วยให้โลหิตในร่างกายหมุนเวียน ช่วยขยายหลอดเลือด แก้อาการมือเท้าเย็น (เหง้า)
  4. เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยรักษามะเร็งในปอด และช่วยรักษาปอดพิการ (เหง้า)
  5. สรรพคุณกระแตไต่ไม้ เหง้าช่วยแก้เบาหวาน (เหง้า)
  6. เหง้าใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (เหง้า)
  7. ขนจากเหง้า นำมาบดให้ละเอียด แล้วใช้สูบแก้อาการหืด (ขนจากเหง้า)
  8. รากและแก่นนำมาต้มน้ำดื่มและนำมาใช้อาบ มีสรรพคุณช่วยแก้ซาง (ราก,แก่น)
  9. ใบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ใช้ต้มกับน้ำอาบ แก้ไข้สูง (เหง้า)
  10. เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ฝนกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการกระหายน้ำได้ (เหง้า)
  11. เหง้านำมากินสดๆ โดยใช้เนื้อสีขาว ที่เอาขนออกแล้ว นำมาฝานตากแดดแล้วนำมาบด มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดประดงเลือด (เหง้า)
  12. ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาใช้ฝนกับน้ำดื่ม (เหง้า)
  13. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  14. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ ขับพยาธิ (เหง้า)
  16. ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือเป็นขุ่นข้น มีสีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) (เหง้า)
  17. กระแตไต่ไม้ สรรพคุณของเหง้าช่วยแก้นิ่ว (เหง้า)
  18. ช่วยแก้ไตพิการ (อาการเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น สีเหลืองเข้มหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้) (เหง้า)
  19. สรรพคุณสมุนไพรกระแตไต่ไม้ เหง้าช่วยขับระดูขาวของสตรี (เหง้า)
  20. รากและแก่นใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการประจำเดือนไหลไม่หยุดของสตรี (ราก,แก่น)
  21. ใบนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยรักษาอาการไม่สบาย มีอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟในช่วงหลังคลอดบุตร (ใบ)
  22. เหง้านำมาพอกช่วยแก้อาการปวดบวม (เหง้า)
  23. ใบใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ต้มกับน้ำอาบช่วยแก้บวม (ใบ)
  24. ใบ้ใชตำพอกแผล ช่วยรักษาแผลเรื้อรังและแผลพุพอง (ใบ)
  25. ช่วยรักษาแผลพุพอง แผลเนื้อร้าย (เหง้า)
  26. ช่วยแก้แผลฝี หนอง (เหง้า)
  27. เหง้านำมาฝนใช้ทาแก้งูสวัด (เหง้า)
  28. ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น หรือใช้เพียงแต่เหง้าอย่างเดียว)
  29. เหง้าใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการปวดเส้น (เหง้า)
  30. ใช้บำบัดอาการป่วยอันเนื่องมาจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ไขข้ออักเสบ อาการปวดหลัง ปวดเข่า ปวดข้อ โดยใช้ทั้งแบบเดี่ยวและนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น                     (ไม่ระบุว่าส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นเหง้า)

 

 

 

 

 

 

ประโยชน์ของกระแตไต่ไม้

  1. ประโยชน์กระแตไต่ไม้ ที่นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังนิยมใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่งอีกด้วย เนื่องจากใบมีลักษณะสวยงาม
  2. มีความเชื่อว่า ว่านกระแตไต่ไม้ เป็นว่านทานงด้านเมตตามหานิยม มีผลดีในด้านการค้าขาย ทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง

 

 

 

 

Credit : http://www.greenerald.com

 2680
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์